โครโมโซมของมนุษย์อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม
คือออโตโซม และโครโมโซมเพศ ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างนั้นมีความเชื่อมโยงกับเพศ
และถ่ายทอดไปทางโครโมโซมเพศ ส่วนลักษณะอื่น ๆ ที่เหลือ ถูกเก็บไว้บนออโตโซม
โครโมโซมทั้งสองประเภทมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงขณะแบ่งเซลล์ในลักษณะเดียวกัน
เซลล์มนุษย์มีโครโมโซมรวมแล้ว 23 คู่
เป็นออโตโซม 22 คู่ และโครโมโซมเพศอีก 1 คู่ รวมเป็นมีโครโมโซม 46 แท่ง ต่อหนึ่งเซลล์
นอกจากนี้ยังมีไมโตคอนเดรียลจีโนม หรือข้อมูลพันธุกรรมในไมโตคอนเดรีย
อีกหลายร้อยชุดต่อเซลล์ ข้อมูลที่ได้จากการหาลำดับดีเอ็นเอ (DNA sequencing) ของจีโนมมนุษย์ทำให้ได้ข้อมูลของโครโมโซมแต่ละแท่งมากขึ้น
ตารางข้างล่างแสดงข้อมูลทางสถิติของโครโมโซมแต่ละแท่ง
ข้อมูลนี้มาจากข้อมูลจีโนมมนุษย์ใน VEGA database ของสถาบัน Sanger[2] จำนวนยีนบนโครโมโซมแต่ละแท่งเป็นค่าประมาณจากการทำนายยีน
ความยาวทั้งหมดของโครโมโซมเป็นค่าประมาณเช่นกัน
รวมถึงการประมาณขนาดของบริเวณเฮเทอโรโครมาตินซึ่งไม่ได้รับการถอดลำดับ
1 ออโตโซม (Autosome) ออโตโซม (autosome) คือ ชื่อเรียกโครโมโซม(chromosome)หรือกลุ่มของโครโมโซม(chromosome)ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะต่างๆของร่างกาย ยกเว้น
ลักษณะที่เกี่ยวกับเพศ ออโตโซม(autosome)มีเหมือนกันทั้งเพศชายและเพศหญิงออโตโซม(autosome) ในเซลล์ร่างกายของคน(2n)มี 22 คู่ ถูกแบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ A
B C D E F G แต่ออโตโซม(autosome) ในเซลล์สืบพันธุ์(n)มีแค่ 22 แท่ง ซึ่งโดยปกติแล้วโครโมโซม(chromosome)ของคนมีทั้งหมด 23 คู่เป็นออโตโซม (autosome) 22 คู่ เป็นโครโมโซมเพศ(sex
chromosome) 1 คู่
2 โครโมโซมเพศ (Sex
chromosome) เป็นโครโมโซมที่ทําหน้าที่ควบคุมหรือกำหนดเพศ
ได้แก่ โครโมโซม X และโครโมโซม Y โครโมโซมเพศ
(sex chromosome)ในเซลล์ร่างกายของคนมีจำนวน 1 คู่ คือ โครโมโซม(chromosome)
X และ โครโมโซม(chromosome)
Y ที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน
โดยเพศหญิงถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome)
X จำนวน 2แท่ง คือ XX ส่วนเพศชายถูกกำหนดด้วยโครโมโซม(chromosome)
X จำนวน 1แท่ง และโครโมโซม(chromosome)
Y จำนวน 1 แท่ง คือ XY ในขณะที่เซลล์สืบพันธุ์ของคนจะมีโครโมโซมเพศ (sex chromosome)เพียง 1 แท่ง คือ เป็น Xหรือ Y ในเพศชาย เป็น X ในเพศหญิง
ความผิดปกติของโครโมโซมมนุษย์
มนุษย์มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศทำให้การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์อาจส่งผลต่อจำนวนโครโมโซมได้
เช่น กรณี nondisjunction
ตัวอย่างความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซมร่างกาย
Down syndrome (ดาวน์ ซินโดรม) พบมากที่สุด เกิดจากการที่มีโครโมโซมคู่ที่
21เกิน มา 1 แท่ง
(trisomy 21) สาเหตุเกิดจากมารดามีอายุมาก สร้างไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติคือ
23 + x
อาการ คนที่มีอาการดาวน์จะมีสมองเล็ก
กะโหลกศีรษะเล็ก ท้ายทอยแบน จมูกเล็กและแฟบ ตาห่าง หางตาชี้ขึ้นบน ช่องปากเล็กจึงดูเหมือนลิ้นโต
ลิ้นเป็นร่อง กระดูกยาวช้าทำให้มีตัวสั้นลายมือเจริญผิดปกติ มักเป็นปัญญาอ่อน ค่า I.Q. = 20 - 50
Edward syndrome (เอ็ดเวิร์ด ซินโดรม) เกิดจากมีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา1 แท่ง
(trisomy 18) ทารกมักเป็นเพศหญิง
อาการ กะโหลกศีรษะด้านหลังผิดปกติ
ตาชิดกัน ปากและกรามเล็ก ขนาดศีรษะเล็ก มีรอยพับย่นที่เปลือกตาด้านนอก ใบหูต่ำกว่าปกติ
อาจพบปากแหว่งเพดานโหว่ เมื่อกำมือนิ้วชี้และนิ้วก้อยจะเกยทับนิ้วกลางและนิ้วนาง จากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
ทารกส่วนมากจะเสียชีวิตภายใน1 ปี
Patau’s Syndrome (พาทาว ซินโดรม) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง
(trisomy 13)
อาการ น้ำหนักน้อย
ศีรษะเล็ก ตาเล็กหรือไม่มีตา ปากแหว่งเพดานโหว่ ตาห่างกัน มีรอยย่นที่หัวตา จมูกโตแบน
คางสั้น ใบหูผิดปกติและอยู่ต่ำ นิ้วมากเกิน หัวใจพิการ ไตผิดปกติ อาจมีอวัยวะภายในกลับซ้ายขวากัน
มักเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย 80 % เสียชีวิตภายใน
1 ปี
Cri du chat syndrome (คริ ดู ชาต ซินโดรม หรือ Cat cry syndrome) เกิดจากการขาดหายไปของแขนข้างสั้นของโครโมโซมคู่ที่
5 (p5 deletion) พบในทารกเพศหญิงมากกว่าชาย
อาการ ศีรษะเล็ก
หน้ากลม ตาทั้งสองข้างอยู่ห่างกัน ปัญญาอ่อนมาก ลักษณะที่สำคัญคือมีเสียงร้องสูงคล้ายเสียงลูกแมว
ความผิดปกติที่โครโมโซมเพศ
Klinefelter syndrome (ไคลน์เฟลเตอร์ซินโดรม) พบในผู้ชาย เกิดจากมีโครโมโซม
X เกินมา 1 แท่ง
โครโมโซมเป็นแบบ 47,XXY
อาการ อวัยะเพศภายนอกเป็นเพศชาย
แต่อัณฑะเล็ก เต้านมโตคล้ายผู้หญิง รูปร่างสูง อ้วน ปัญญาค่อนข้างอ่อน
Turner
syndrome (เทอร์เนอร์ ซินโดรม)
พบในเพศหญิงเกิดจากโครโมโซม X ขาดหายไป 1 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 45,XO อาการ ลักษณะอวัยวะเพศภายนอกเป็นหญิง มีรูปร่างเตี้ย คอเป็นแผง หน้าอกแบนกว้าง เต้านมเล็กและหัวนมอยู่ห่างกัน อวัยวะเพศเจริญได้ไม่เต็มที่ รังไข่และมดลูกเล็กและเป็นหมัน
Triple X syndrome (ทริบเปิล เอ็กซ์ ซินโดรม) พบในเพศหญิง เกิดจากมีโครโมโซม
X เกินมา 1 แท่ง
รวมเป็น 3 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 47,XXX
อาการ ลักษณะภายนอกเป็นหญิง
อวัยวะเพศเจริญไม่เต็มที่ รังไข่ฝ่อ ไม่มีประจำเดือน เป็นหมัน ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
Double Y syndrome (ดับเบิลวายซินโดรม) พบในเพศชายเกิดจากมีโครโมโซม Y เกินมา 1 แท่งรวมเป็น
3 แท่ง โครโมโซมเป็นแบบ 47,XYY
อาการ ลักษณะ ภายนอกเป็นชาย
สติปัญญาต่ำ เป็นหมัน รูปร่างสูง ไม่มีลักษณะทางกายที่ผิดปกติ แต่มักเป็นคนอารมณ์ฉุนเฉียว
ใจร้อน พบมากในพวกนักโทษซึ่งมีพฤติกรรมเป็นภัยต่อสังคม